จดทะเบียนบริษัทรักษาความปลอดภัย รปภ.

การจดทะเบียนบริษัทรักษาความปลอดภัย โดยมาตราที่3 ให้ความหมายคำนำหน้าชื่อบริษัทรักษาความปลอดภัย หมายถึง บริษัทซึ่งได้รับอนุญาติประกอบธุรกิจรักษาความปลอดภัย และมาตรา20 ระบุไว้ชัดเจนให้เปลี่ยน เฉพาะคำนำหน้าชื่อ จากบริษัท … จำกัด เป็น บริษัทรักษาความปลอดภัย ….. จำกัด ส่วนชื่อบริษัทที่เป็นภาษาอังกฤษในต่างประเทศส่วนใหญ่ จะลงทายชื่อบริษัทว่า ………….. Security Company Limited ซึ่งแปลว่า บริษัทรักษาความปลอดภัย 

ธุรกิจรักษาความปลอดภัย

• มาตรา ๑๖ ผู้ประกอบธุรกิจรักษาความปลอดภัยต้องเป็นบริษัท และได้รับ ใบอนุญาตประกอบธุรกิจรักษาความปลอดภัยจากนายทะเบียน

• หากประกอบธุรกิจรักษาความปลอดภัยโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ต้องระวางโทษจําคุก ไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั ้งจําทั ้งปรับ (มาตรา ๕๕) ซึ่ง กฎหมายบัญญัติว่า ผู้ใดประกอบธุรกิจรักษาความปลอดภัยโดยไม่ได้รับอนุญาต

• มาตรา ๑๗ บริษัทซึ้งขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจรักษาความปลอดภัยต้อง

– (๑) มีจํานวนหุ้นที่ถือโดยบุคคลผู้มีสัญชาติไทยเกินกึ่งหนึ่งของทุนจดทะเบียนของบริษัท จํากัดหรือทุนชําระแล้วของบริษัทมหาชนจํากัด แล้วแต่กรณี

– (๒) มีกรรมการซึ่งเป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทยเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั ้งหมด ทั้งนี้

• กรรมการทั้งหมดของบริษัทต้องไม่เคยเป็นกรรมการหรือผู้มีอํานาจจัดการแทนบริษัท ที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจรักษาความปลอดภัย

– (๓) ไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจรักษาความปลอดภัย

• มาตรา ๒๐ บริษัทรักษาความปลอดภัยต้องใช้คํานําหน้าชื่อว่า “บริษัทรักษาความปลอดภัย”และคําว่า “จํากัด” หรือ “จํากัด (มหาชน)” ต่อท้าย แล้วแต่ กรณี

• มาตรา ๒๑ ห้ามมิให้ผู้ใดนอกจากบริษัทรักษาความปลอดภัยใช้ชื่อหรือคํา แสดงชื่อในธุรกิจว่า “บริษัทรักษาความปลอดภัย” หรือคําอื่นใดที่มี ความหมายเช่นเดียวกัน

• หากฝ่าฝืนมาตรา ๒๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท และปรับอีกไม่ เกินวันละห้าพันบาทตลอดระยะเวลาที่ฝ่ าฝืนอยู่ (มาตรา ๕๖)

• ผู้ใดใช้ชื่อหรือคําแสดงชื่อในธุรกิจว่า “บริษัทรักษาความปลอดภัย”หรือคําอื่น ใดที่มีความหมายเช่นเดียวกัน อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี ้ใช้บังคับ ให้ บุคคลนั ้นเลิกใช้ชื่อหรือคําแสดงชื่อดังกล่าวภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ พระราชบัญญัตินี ้ใช้บังคับ (มาตรา ๗๖)

• มาตรา ๒๕ การทําสัญญาในการรับจ้าง

• มาตรา ๒๖ มาตรฐานรักษาความปลอดภัย

• มาตรา ๒๗ ในการให้บริการรักษาความปลอดภัย ให้บริษัทรักษาความปลอดภัยจัด พนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาตเป็นผู้ให้บริการรักษาความปลอดภัยแก่ผู้ ว่าจ้าง

• การฝ่ าฝืนตามมาตรา ๒๗ มีโทษตามมาตรา ๕๙

• มาตรา ๕๙ บริษัทรักษาความปลอดภัยใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๗ ต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

• ในกรณีที่บริษัทรักษาความปลอดภัยใดกระทําความผิดตามมาตรานี ้ กรรมการ ผู้จัดการหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดําเนินงานของบริษัทรักษาความปลอดภัย ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ต่อเมื่อการกระทําความผิดของบริษัทรักษาความปลอดภัยนั ้นเกิดจากการสั่งการหรือ การกระทําของกรรมการ ผู้จัดการหรือบุคคลนั ้น หรือไม่สั่งการหรือไม่กระทําการอัน เป็นหน้าที่ที่ต้องกระทําของกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลนั้น

• มาตรา ๒๘ บริษัทรักษาความปลอดภัยมีหน้าที่ให้ความร่วมมือแก่ตํารวจซึ่งมี ยศตั้งแต่ร้อยตํารวจตรีขึ้นไปที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าสถานีตํารวจใน ท้องที่ซึ่งเป็นที่ตั้งของบริษัทรักษาความปลอดภัยหรือสถานที่ที่บริษัทรักษา ความปลอดภัยนั้นรับผิดชอบรักษาความปลอดภัย ตามข้อกําหนดในสัญญาจ้างในการขอเข้าตรวจดูข้อมูลบันทึกเหตุการณ์ประจําวันเกี่ยวกับการรักษา ความปลอดภัยภายในบริเวณหรือสถานที่ที่รับผิดชอบรักษาความปลอดภัย ดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการวางแผนจัดการรักษาความสงบเรียบร้อย และความปลอดภัยในชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน

• การฝ่ าฝืนมาตรา ๒๘ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท (มาตรา ๖๐)

• มาตรา ๓๑ ให้บริษัทรักษาความปลอดภัยจัดทํารายงานผลการดําเนินงาน ของบริษัทในรอบปีที่ผ่านมา ยื่นต่อนายทะเบียนภายในเดือนมกราคมของปี ถัดไป ทั้งนี้ตามแบบและวิธีการที่นายทะเบียนกลางประกาศกําหนด

จดทะเบียนบริษัท จำกัด ขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัท

มาดูกันตั้งแต่เริ่มแรกการเปิดบริษัทใหม่ การจดทะเบียนบริษัทอาจจะไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่มีเอกสารที่ต้องจัดทำค่อนข้างมาก และปัจจุบันทางกระทรวงพาณิชย์ได้ปรับเปลี่ยนให้การจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทสามารถจดในวันเดียวกันได้ ทำให้ระยะเวลาที่ใช้สั้นลง นอกจากนี้ยังลดจำนวนผู้เริ่มก่อการจาก 7 คนลดเหลือ 3 คน แต่ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าเรื่องเอกสารที่ต้องจัดทำยังเหมือนเดิมทุกอย่าง

1. ผู้ก่อการยื่นขอตรวจและจองชื่อบริษัท ด้วยแบบจองชื่อนิติบุคคล( จำหน่ายที่กรมทะเบียนการค้าราคาแผ่นละ 5 บาท) เพื่อตรวจสอบว่าชื่อที่จะใช้นั้นจะเหมือนหรืคล้ายกับชื่อที่คนอื่นได้จดทะเบียนไว้ก่อนหรือไม่ โดยยื่นแบบจองชื่อดังกล่าวแก่นายทะเบียนผู้ตรวจสอบชื่อ และปัจจุบันสามารถ จองชื่อบริษัทผ่านทางอินเตอร์เนต  ซึ่งจะทราบผลในวันถัดไปโดยจะแจ้งผลการจองชื่อผ่านทาง e-mail ของผู้จองชื่อนั้น เมื่อจองชื่อได้แล้วจะต้องขอจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิภายใน 30 วัน

2. เมื่อได้ชื่อแล้ว บุคคลซึ่งเป็นผู้ก่อการตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป เข้าชื่อกันจัดทำคำขอจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ์และเอกสารประกอบแล้วนำไปจดทะเบียน

3. เมื่อได้จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว ผู้ก่อการต้องจัดให้หุ้นของบริษัทที่คิดจะจัดตั้งขึ้นนั้น มีผู้เข้าชื่อจองซื้อหุ้นจนครบ

4. ดำเนินการประชุมจัดตั้งบริษัท โดยต้องส่งคำบอกกล่าวนัดประชุมให้ผู้จองหุ้นทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน ก่อนวันประชุม

5. เมื่อได้ประชุมตั้งบริษัท และที่ประชุมได้แต่งตั้งกรรมการบริษัทแล้ว ผู้เริ่มก่อการต้องมอบหมายกิจการให้กรรมการบริษัทรับไปดำเนินการต่อไป

6. กรรมการบริษัทจัดการเรียกให้ผู้เริ่มก่อการและผู้ขอจองหุ้น ชำระค่าหุ้นอย่างน้อยร้อยละ 25 ของมูลค่าหุ้น

7. เมื่อได้รับเงินค่าหุ้นแล้ว กรรมการต้องจัดทำคำขอจดทะเบียนตั้งบริษัทและเอกสารประกอบ นำไปจดทะเบียนเป็นบริษัทภายใน 3 เดือน หลังจากการประชุมตั้งบริษัท

 

โปรโมชั่น จดทะเบียนบริษัทกับเรา

พิเศษ !!! สำหรับลูกค้าจดทะเบียนใหม่

ส่วนลดพิเศษ!! จัดทำเว็บไซต์จาก ปกติ 12,000 บาท เหลือเพียง 5,000 บาท ฟรี !!! ระบบอีเมล์ภายใต้ชื่อโดเมนเนม

พิเศษ !!! 

 ลูกค้าจดทะเบียนใหม่และทำบัญชี

  • เว็บไซต์ ราคา 3,500 บาท พร้อมแนะนำการทำตลาดออนไลน์
  • ฟรี ออกแบบโลโก้บรษัท
  • ฟรี รูปแบบใบส่งสินค้า ใบแจ้งหนี้ ใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงินและเอกสารสำคัญอื่นๆ
  • ฟรี ขึ้นทะเบียน ระบบ E-FILING เพื่อใช้นำส่งงบการเงินกับกระทรวงพาณิชย์
  • ฟรี จดทะเบียน ภ.อ.01 เพื่อใช้ยื่นภาษีผ่าระบบออนไลน์
  • ฟรี จัดเตรียมเอกสารขึ้นทะเบียน E-GP (ระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ)
  • ฟรี ที่ปรึกษาด้านการตลาดและบริหารธุรกิจ

การจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ

ข้อมูลที่ต้องใช้

ในการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ ผู้ขอจดทะเบียนบริษัทจะต้องเตรียมข้อมูลดังต่อไปนี้ เพื่อกรอกในคำขอจดทะเบียนและเอกสารประกอบการจดทะเบียนบริษัท
1. ชื่อของบริษัท
2. ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ ( ตั้งอยู่ ณ จังหวัดใด )
3. วัตถุประสงค์ของบริษัท
4. ทุนจดทะเบียน จำนวนหุ้น มูลค่าหุ้น
5. ชื่อ ที่อยู่ อายุ อาชีวะ จำนวนหุ้นของผู้เริ่มก่อการจัดตั้งบริษัทซึ่งมีจำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน
6. ชื่อ ที่อยู่ อายุ สัญชาติ ของพยาน 2 คน
7. อากรแสตมป์ 200 บาท

การลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียน

การลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ ผู้เริ่มก่อการทุกคนจะต้องลงลายมือชื่อด้วยตนเอง โดยเฉพาะผู้เริ่มก่อการซึ่งเป็นผู้ขอจดทะเบียน จะต้องมาลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียนต่อหน้านายทะเบียนพร้อมแสดงบัตรประจำตัว หรือลงลายมือชื่อต่อหน้าพนักงานฝ่ายปกครอง ตำรวจชั้นผู้ใหญ่ในท้องถิ่นที่ผู้ลงลายมือชื่อมีภูมิลำเนา หรือสามัญสมาชิกหรือวิสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภาก็ได้

ซึ่งรายละเอียดดังกล่าว 1SMEstartUP.com จะเป็นผู้ดำเนินการแทนท่าน เพียงแต่ท่านจะต้องเตรียมการข้อมูลดังต่อไปนี้ มายังทางบริษัทฯ

 1.คิดชื่อเพื่อทำการจองชื่อนิติบุคคล ให้คิดเผื่อไว้ 2-3 ชื่อ กันชื่อซ้ำ ทั้งภาษาไทย และ English เว้นวรรคตามต้องการ เช่น ควิกแอคเคาท์ติ้ง/Quick Accounting หรือ ชลธี การบัญชี/Chonlatee Accounting พร้อมทั้งข้อมูลบนบัตรประชาชน อีเมล์ เบอร์โทรศัพท์ของผู้จอง ขั้นตอนนี้ใช้เวลา 3 ชั่วโมง ทราบผลการจอง (กรณีให้บริษัทฯจองให้

2.หลังจากที่จองชื่อนิติบุคคลได้แล้ว ก็ต้องเตรียมเอกสาร และข้อมูลบริษัท เช่น วัตถุประสงค์ ทุนจดทะเบียน มูลค่าหุ้น

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้เริ่มก่อตั้ง อย่างน้อย 3 ท่าน (สำเนาต้องดูแล้วชัดเจน)
  • สำเนาทะเบียนบ้าน ของสถานที่จัดตั้งบริษัท พร้อมแผนที่ตั้ง (สำนักงานใหญ่)
  • แบบแจ้งผลการจองชื่อนิติบุคคล

3.ข้อมูลบริษัท (เพื่อใช้จัดเตรียมแบบจดทะเบียนบริษัท ใช้เวลา 1 ชั่วโมง กรณีให้บริษัทฯจัดทำ)

  • ผู้มีอำนาจลงนาม เช่น นาย ก และ นาย ข ลงนามพร้อมประทับตราสำคัญบริษัท
  • วัตถุประสงค์ บริษัท เช่น ประกอบกิจการ รับทำบัญชี วางระบบบัญชี ตรวจสอบบัญชี (ใส่ได้ไม่จำกัด)
  • การกำหนดมูลค่าหุ้นของบริษัท ต้องแบ่งเป็นหุ้น หุ้นละเท่าๆกัน เช่น ทุน1 ล้าน กำหนดหุ้นละ100บาท บริษัทจะมีหุ้นทั้งหมด 10,000 หุ้น

4.นำแบบจดทะเบียนบริษัทไปจดที่ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ซึ่งมีบริการอยู่ 8 แห่ง ทั่วกรุงเทพฯ ใช้เวลาประมาณ 1 วัน

สถานที่ยื่นขอจดทะเบียน

สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง รับผิดชอบการปฏิบัติงานการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัท ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดต่างๆทั่วราชอาณาจักรได้แก่

1. สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันได้แบ่งความรับผิดชอบเป็น 6 เขตพื้นที่ได้แก่

1.1 สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 1 ( มหาราช ) ตั้งอยู่ที่ ถนนมหาราช เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 ( ใกล้ สน.พระราชวัง )
โทรศัพท์ 6220569-70,6220572, 6220578-82 โทรสาร 6220573
เขตรับผิดชอบ : พระนคร , ป้อมปราบ , สัมพันธวงศ์ , บางรัก , บางพลัด , บางกอกน้อย , บางกอกใหญ่ , ตลิ่งชัน , ทวีวัฒนา

1.2 สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 2 ( พหลโยธิน ) ตั้งอยู่ที่อาคารเลขที่ 78/1 ถนนพราม 6 ( สี่แยกประดิพัทธ์ ) เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์ 6183340-41 โทรสาร 6183343-44
เขตรับผิดชอบ : ดุสิต , บางซื่อ , ปทุมวัน , พญาไท , ราชเทวี

1.3 สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 3 ( รัชดาภิเษก ) ตั้งอยู่ที่ อาคารปรีชาคอมเพล็กซ์ ( ซี 2 ) ชั้น 1-2 ถนนรัชดาภิเษก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 ( เยื้อง สน.สุทธิสาร )
โทรศัพท์ 2767254 , 2767266 โทรสาร 2767263
เขตรับผิดชอบ : ห้วยขวาง , ดินแดง , จตุจักร , ลาดพร้าว

1.4 สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 4 ( กรุงธนบุรี ) ตั้งอยู่ที่ อาคารธนธร ชั้น 2-3 ถนนกรุงธนบุรี เขตคลองสาน กรุงเทพฯ 10600 (เชิงสะพานสาธรด้านซ้าย ใกล้อาคารสินสาธรทาวเวอร์)
เขตรับผิดชอบ : คลองสาน , ธนบุรี , ทุ่งครุ , ราชบูรณะ , หนองแขม , บางแค , ภาษีเจริญ , จอมทอง , บางบอน , บางขุนเทียน , บางคอแหลม , ยานนาวา , สาธร

1.5 สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 5 ( รามคำแหง ) ตั้งอยู่ที่ อาคารปรีชาคอมเพล็กซ์ ( ซี 2 ) ชั้น 5-6 ถนนรัชดาภิเษก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 ( เยื้อง สน.สุทธิสาร )
โทรศัพท์ 2767255 , 2767269 โทรสาร 2767258,2767268
เขตรับผิดชอบ : บึงกุ่ม , บางกะปิ , ลาดกระบัง , สะพานสูง , วังทองหลาง , หนองจอก , คันนายาว

1.6 สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 6 ( ศรีนครินทร์ ) ตั้งอยู่ที่ อาคารโมเดอร์นฟอร์ม ชั้น 16 ถนนศรีนครินทร์ เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250
โทรศัพท์ 7228366-67 โทรสาร 7228369
เขตรับผิดชอบ : สวนหลวง , ประเวศ , วัฒนา , บางนา , พระโขนง , คลองเตย

1.7 สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 7 ( แจ้งวัฒนะ ) ตั้งอยู่ที่ ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ อาคาร B

1.8 สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 8 ตั้งอยู่ที่ อาคารกรมทะเบียนการค้า ชั้น 10 ถนนสนามบินน้ำ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ 5474423-4 โทรสาร 5474441
รับผิดชอบ : การจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด ธุรกิจธนาคาร เครดิตฟองซิเอร์ เงินทุนหลักทรัพย์ ประกันภัย ไซโล ห้องเย็น คลังสินค้า

2. สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัด ตั้งอยู่ที่ สำนักงานทะเบียนการค้าจังหวัด หรือสำนักงานพาณิชย์จังหวัด รับผิดชอบการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัท ซึ่งมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตปฏิบัติงานของจังหวัดนั้นๆ
ข้อสังเกต สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่จังหวัดใด ให้ยื่นขอจดทะเบียน ณ จังหวัดนั้น

 

จดทะเบียนบริษัทภาคกลาง

จดทะเบียนบริษัทนครสวรรค์ : จดทะเบียนบริษัทอุทัยธานี : จดทะเบียนบริษัทอ่างทอง : จดทะเบียนบริษัทสระบุรี : จดทะเบียนบริษัทสุพรรณบุรี : จดทะเบียนบริษัทสุโขทัย : จดทะเบียนบริษัทสิงห์บุรี : จดทะเบียนบริษัทสมุทรสาคร : จดทะเบียนบริษัทสมุทรสงคราม : จดทะเบียนบริษัทสมุทรปราการ : จดทะเบียนบริษัทลพบุรี : จดทะเบียนบริษัทเพชรบูรณ์ : จดทะเบียนบริษัทพิษณุโลก : จดทะเบียนบริษัทพิจิตร : จดทะเบียนบริษัทพระนครศรีอยุธยา : จดทะเบียนบริษัทปทุมธานี : จดทะเบียนบริษัทนนทบุรี : จดทะเบียนบริษัทนครปฐม : จดทะเบียนบริษัทนครนายก : จดทะเบียนบริษัทชัยนาท : จดทะเบียนบริษัทกำแพงเพชร

จดทะเบียนบริษัทภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

จดทะเบียนบริษัทอำนาจเจริญ : จดทะเบียนบริษัทอุบลราชธานี : จดทะเบียนบริษัทหนองบัวลำภู : จดทะเบียนบริษัทหนองคาย : จดทะเบียนบริษัทศรีสะเกษ : จดทะเบียนบริษัทสุรินทร์ : จดทะเบียนบริษัทสกลนคร : จดทะเบียนบริษัทเลย : จดทะเบียนบริษัทร้อยเอ็ด : จดทะเบียนบริษัทยโสธร : จดทะเบียนบริษัทมุกดาหาร : จดทะเบียนบริษัทมหาสารคาม : จดทะเบียนบริษัทบุรีรัมย์ : จดทะเบียนบริษัทบึงกาฬ : จดทะเบียนบริษัทนครราชสีมา : จดทะเบียนบริษัทนครพนม : จดทะเบียนบริษัทชัยภูมิ : จดทะเบียนบริษัทขอนแก่น : จดทะเบียนบริษัทกาฬสินธุ์ : จดทะเบียนบริษัทอุดรธานี